วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 4 ข้อมูลสารสนเทศ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครศรีธรรมราช

กิจกรรมที่ 4
ข้อมูลสารสนเทศ
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครศรีธรรมราช
ชื่อสถานศึกษา ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครศรีธรรมราช
สถานที่ตั้ง หมู่ 3 ตำบล บ้านเกาะ อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช รหัสไปรษณีย์ 80320
โทรศัพท์ 075-396363 , โทรสาร 075-396364
E-mail:banyat@hotmail.com, nsc_camp@hotmail.com
สังกัด สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ
ประวัติความเป็นมา
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครศรีธรรมราช เดิมมีชื่อว่า “ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช” ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 16 สิงหาคม 2537 ประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2538 ที่อนุมัติให้มีโครงการศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาแห่งชาติ และเครือข่าย ( รัฐบาล ฯพณฯ ชวน หลีกภัย โดยมีนายสัมพันธ์ ทองสมัคร เป็น รมว.กระทรวงศึกษาธิการ ) มีสถานภาพเป็นสถานศึกษา สังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน (ต่อมาเปลี่ยนเป็นสำนักงานส่งเสริมศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ) ตั้งอยู่บริเวณวัดเขาขุนพนม ม.3 ต.บ้านเกาะ อ. พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครศรีธรรมราช นับเป็นศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาในภูมิภาคแห่งแรก ทั้งนี้ เพื่อขยายโอกาสการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ให้แก่เยาวชนในต่างจังหวัด รวมทั้งการสนับสนุนส่งเสริมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี การจัดกิจกรรมการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ในรูปแบบต่างๆ นับเป็นการการกระจายความเจริญด้านวิทยาศาสตร์ ให้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดใกล้เคียง
ต่อมาเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2546 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอย่างเป็นทางการ
ในวันที่ 4 มีนาคม 2551 มีการเปลี่ยนสถานะของสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน เมื่อรัฐบาลได้ประกาศใช้พ.ร.บ.ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 โดยมีการปรับเปลี่ยนภารกิจของสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน (ซึ่งถูกปรับมาจากกรมการศึกษานอกโรงเรียน) เป็นสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มีฐานะเทียบเท่ากรม
และต่อมาวันที่ 10 มีนาคม 2551 กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศเปลี่ยนชื่อศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครศรีธรรมราช เรียกโดยย่อว่า ศว.นศ.ให้เป็นสถานศึกษา ขึ้นตรงกับสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (เหตุผลในการคำว่า “ จังหวัด “ เพื่อให้เป็นสถานศึกษาส่วนกลาง และมีขอบเขตในการให้บริการกลุ่มเป้าหมายได้กว้างขวางทุกพื้นที่)
คำขวัญ ( Slogan )
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครศรีธรรมราชและศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาทุกแห่งได้ใช้คำ ขวัญ เดียวกันคือ
“สร้างระบบคิดปลูกจิตวิทยาศาสตร์” เป็นแนวคิดของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาระบบคิด อันได้แก่ การคิดสะท้อนกลับ การคิดวิเคราะห์ การคิดวิพากษ์ และการคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญเพื่อให้คนเป็นคนมีเหตุผล“การปลูกจิตวิทยาศาสตร์” หมายถึงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อปลูกฝังลักษณะ 8 ประการ ได้แก่ ความสนใจใฝ่รู้ ความรับผิดชอบมุ่งมั่น อดทนและเพียรพยายาม ความมีเหตุผล ความมีระเบียบรอบคอบ ความซื่อสัตย์ ความประหยัด ความใจกว้าง ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
สัญลักษณ์ (Symbol)
ใช้สัญลักษณ์การแตกตัวของอะตอมและสูตรทางเคมี ที่มีโครงสร้างคล้ายรังผึ้งใช้สี 3 สี คือ แดง เหลือง เขียว แทนวิทยาศาสตร์ 3 แขนง ได้แก่ ฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา


การ์ตูนนำโชค (Mascot)
“เจ้าหนูถามจัง”เพื่อให้สัมพันธ์กับคำขวัญ “สร้างระบบคิดปลูกจิตวิทยาศาสตร์” โดยเป็นเด็กช่างสงสัย รู้จักสังเกต มีความอยากรู้อยากเห็นและต้องการค้นหาคำตอบตลอดเวลา



วิสัยทัศน์
ภายในปี 2554 ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครศรีธรรมราชเป็นองค์กรชั้นนำในการจัดการเรียนรู้ เพื่อสร้างระบบการคิด ปลูกจิตวิทยาศาสตร์ มีนวัตกรรมหลากหลาย ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายสู่สังคม ฐานความรู้วิทยาศาสตร์
พันธกิจ
1.จัดและส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กเยาวชนและประชาชนทั่วไป
2.วิจัยและพัฒนานวัตกรรมในการจัดกระบวนการเรียนรู้และการบริหารจัดการองค์กรด้านวิทยาศาสตร์
3.พัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการจัดการเรียนรู้ ด้านวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่อง
4.นำนวัตกรรมการบริหารจัดการภาครัฐ แนวใหม่ มาใช้ในการบริหาร
5.จัด ขยาย และแสวงหา แหล่งการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์
6.ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาเครือข่าย ในการจัดการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์
บทบาทหน้าที่
1. จัดและบริการการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม แก่นักเรียน นักศึกษาทั้งในและนอกระบบโรงเรียนและประชาชนในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ
2. ศึกษา ค้นคว้า วิจัยและพัฒนารูปแบบกิจกรรม หลักสูตร สื่อ และกระบวนการเรียนรู้ด้าน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
3. เผยแพร่และบริการรูปแบบกิจกรรม หลักสูตร สื่อ และกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้าน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
4. พัฒนาครู อาจารย์ วิทยากร และบุคลากรทางการศึกษา ผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
5. ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานร่วมกับภาคีเครือข่าย ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
6. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
จังหวัดที่รับผิดชอบ
ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการให้ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครศรีธรรมราช มีพื้นที่รับผิดชอบ จังหวัด สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา รวมพื้นที่รับผิดชอบ 4 จังหวัด 69 อำเภอ พื้นที่ 3,384,772 ตารางกิโลเมตร ประชากร 4,222,390 คน


เขตพื้นที่ให้บริการ
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครศรีธรรมราช มีพื้นที่รับผิดชอบตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ 4 จังหวัด คือ

จังหวัด จำนวนอำเภอ/กิ่งอำเภอ (แห่ง) พื้นที่ (ตร.กม.) ประชากร(คน)
สุราษฎร์ธานี 19 อำเภอ 12,966.36 920,283
นครศรีธรรมราช 23 อำเภอ 10,000.26 1,526,586
สงขลา 16 อำเภอ 7,436.84 1,271,067
พัทลุง 11 อำเภอ 3,444.26 504,454
รวม 69 อำเภอ 33,847.72 4,222,390

ทั้งนี้ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครศรีธรรมราช ยังสามารถให้บริการกลุ่มเป้าหมายจากจังหวัดต่างๆ ได้ทั่วภาคใต้
กลุ่มเป้าหมายการให้บริการ
นักเรียน นักศึกษา เยาวชน ทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน ครู อาจารย์ ประชาชนทั่วไป แต่ส่วนใหญ่ แล้วกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนในระบบโรงเรียนที่มีครูนำมาเป็นคณะ
การให้บริการ
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครศรีธรรมราชเป็นสถานศึกษาที่ให้บริการด้านการศึกษานอกระบบโรงเรียน
และการศึกษาตามอัธยาศัยในรูปแบบที่หลากหลาย โดยการให้บริการการเรียนรู้จะครอบคลุมใน 4 ด้าน คือ

1. บริการนิทรรศการ
นิทรรศการมีรูปแบบต่างๆ เช่น นิทรรศการถาวร นิทรรศการชั่วคราว นิทรรศการเคลื่อนที่
• นิทรรศการถาวรที่แสดงเป็นประจำภายในอาคารและภายนอกอาคาร เช่น
- นิทรรศการความลับของพื้นพิภพ - นิทรรศการเปิดโลกธรณีวิทยา
- นิทรรศการวิทยาศาสตร์พื้นฐาน - นิทรรศการดาราศาสตร์และอวกาศ - สวนวิทยาศาสตร์ - นิทรรศการมนุษย์กับธรรมชาติ
- นิทรรศการปิโตรเลียม - นิทรรศการวัฎจักรของน้ำและ ป. ปลาน่ารู้
- นิทรรศการมุมนิวเคลียร์ (ปรมาณูเพื่อสันติภาพ)
• นิทรรศการชั่วคราว จะจัดแสดงเป็นครั้งคราวตามเหตุการณ์ที่น่าสนใจ เช่น นิทรรศการโลกร้อน ไข้หวัดนก การเกิดภาวะดินถล่ม ฯลฯ
• นิทรรศการเคลื่อนที่ โดยมีนิทรรศการเคลื่อนที่ และท้องฟ้าจำลองเคลื่อนที่ รวมทั้งกิจกรรมอื่นๆ ไปจัดตามสถานศึกษา หน่วยงาน หรือร่วมงานพิเศษต่างๆ ตามที่องค์กรขอความร่วมมือมา
2. กิจกรรมค่าย
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครศรีธรรมราชให้บริการกิจกรรมค่ายในรูปแบบค่ายกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ซึ่งมีกิจกรรมการเรียนรู้ให้เลือกหลากหลายกิจกรรม โดยทุกกิจกรรมเน้นให้เกิดความสนุก มีความสุข จากการปฏิบัติจริงนอกห้องเรียนของธรรมชาติรอบเขาขุนพนมและชุมชนรอบๆ เพื่อให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้จากสิ่งรอบตัว โดยใช้ทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้ทุกกิจกรรมยังตอบสนองตัวชี้วัดชั้นปี และสมรรถนะสำหรับผู้เรียน 5 ด้านคือ ความสามารถในการสื่อสาร , ความสามารถในการคิด, ความสามารถในการแก้ปัญหา, ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต, ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551
กิจกรรมค่ายได้พัฒนาทั้งจุดประสงค์การเรียนรู้ ให้ชัดเจนรัดกุม ขั้นตอนการจัดกิจกรรมให้มีความกระชับ เสร็จสิ้นภายใน 3 ชั่วโมงทุกกิจกรรม แบ่งกลุ่มกิจกรรมตามแนวคิดและวิธีการที่ใกล้เคียงกันได้เป็น 5 กลุ่ม คือ
1. Play & Learn ประกอบด้วย 5 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรม Science Show, กิจกรรม Science Kits, ก กิจกรรม Math Magic, กิจกรรมพิชิตโลกร้อน และกิจกรรมของเล่นไทยคุณค่าใหม่วิทยาศาสตร์
2. พลังคนพลังคิด ประกอบด้วย 5 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมInquiry ,กิจกรรม Discovery , แออ อ กิจกรรม Walk Rally กิจกรรมจำนำฝัน และกิจกรรมล่าฆาตกร
3. ฝีไม้ลายมือ ประกอบด้วย 3 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมเส้นสายลายเทียน, กิจกรรมมัดเส้นเน้นลาย แ และกิจกรรมพาราพาเรียน
4. ป่าดินหินน้ำ ประกอบด้วย 6 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมตะลุยป่าหลังคาแดนใต้ ,กิจกรรมคนค้นอแ ป่า กิจกรรมนักสืบสายน้ำ, กิจกรรมนักธรณีน้อย, กิจกรรมนักอุตุน้อย และกิจกรรมปีนหน้าผา
5. ถอดรหัสฟ้า ประกอบด้วย 1 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมเปิดเลนส์ส่องฟ้า
3. กิจกรรมการศึกษา
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครศรีธรรมราชให้บริการกิจกรรมการศึกษาในรูปแบบต่างๆ ดังนี้
- งานมหกรรม เช่น งานมหกรรมเปิดโลกการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ , งานวิทยาศาสตร์สัญจร
- การประกวด/แข่งขัน เช่น การประกวดการแสดงทางวิทยาศาสตร์(Science Show)
- วันเด็กแห่งชาติ
- สัปดาห์วิทยาศาสตร์
- Lab วิทยาศาสตร์
4. บริการวิชาการ
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครศรีธรรมราชให้บริการวิชาการในรูปแบบต่างๆ เช่น
- เป็นวิทยากรบรรยาย
- จัดประชุม/อบรม/สัมมนา ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- บริการสื่อ ในรูปแบบเอกสาร สิ่งพิมพ์ VCD
- ให้บริการความรู้ บทความวิทยาศาสตร์, บทเรียน E-learning ผ่าน www.nakhonsci.com

วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 3 การใช้โปรแกรม SPSS

การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS
SPSS โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows (Statistic Package for Social Sciences for Windows)เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยและเป็นโปรแกรมที่จัดทำขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ การทำงานแต่ละอย่างใช้เพียงแต่ใช้เมาส์ชี้คำสั่งต่างๆ ตามต้องการ แล้วคลิกเมาส์เท่านั้น
การเข้าสู่การทำงานของโปรแกรม SPSS ให้คลิก Icon SPSS ที่ Desktop หรือที่ Start เลือก All Program คลิกที่ Program SPSS ก็จะปรากฏหน้าต่างของ SPSS
1. SPSS มีแถบเมนู Data View และVariable View
2. การสร้างแฟ้มข้อมูล
o การสร้างแฟ้มข้อมูล คือ การบันทึกข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ลงในโปรแกรม SPSS
o Data View
o Variable View
การสร้างแฟ้มข้อมูลมีขั้นตอน ดังนี้ SPSS Data Editor Variable View จะปรากฏวินโดวส์ของ Variable View ดังนี้
ขั้นที่ 1 การตั้งค่าต่างๆ ลงใน Variable View โดยมีเมนูย่อย ดังนี้
1. Name ใช้สำหรับตั้งชื่อตัวแปร เช่น เพศ
2. Type ใช้สำหรับกำหนดชนิดของตัวแปร
3. Numeric เป็นตัวแปรชนิดตัวเลข
4. Comma เป็นตัวแปรชนิดตัวเลข และโปรแกรม จะใส่เครื่องหมาย Comma Dot เป็นตัวแปรชนิดตัวเลข และมีเครื่องหมาย “ , ” หนึ่งครั้งสำหรับคั่นทศนิยม และโปรแกรม SPSS จะใส่เครื่องหมาย “.” คั่นเลขหลักพัน Scientific Notation เป็นตัวแปรชนิดตัวเลข และสัญลักษณ์ทางวิทยาศาสตร์ เช่น 22 E-2. Date เป็นตัวแปรชนิดวันที่คือ ข้อมูลอยู่ในรูป วัน เดือน ปี Dollar เป็นตัวแปรที่มีเครื่องหมาย $ มีจุด 1 จุด สำหรับทศนิยม มีเครื่องหมาย “ , ” สำหรับคั่นเลขหลักพัน Custom Currency สกุลเงินที่ผู้ใช้กำหนดเอง String เป็นตัวแปรที่มีค่าเป็นตัวอักษร ( ข้อความ )
5. Width คือ ความกว้างของข้อมูลโดยรวมจุดและจำนวนหลักหลังจุดทศนิยมด้วย สามารถกำหนดความกว้างของข้อมูลได้สูงสุด 40 หลัก
6. Decimals คือ จำนวนหลักหลังจุดทศนิยม กำหนดทศนิยมได้สูงสุด 10 หลัก
7. Label เป็นส่วนที่ใช้อธิบายความหมายชื่อตัวแปร เนื่องจากการกำหนดชื่อตัวแปรที่ Name กำหนดได้เพียง 8 ตัวอักษรเพื่อประโยชน์ตอนแสดงผลลัพธ์
8. Values กรณีที่ข้อมูลเป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ ต้องกำหนดค่าตัวเลข (Value) และ Value Label เพื่ออธิบายความหมายที่แท้จริงของตัวเลขนั้น เช่น คำถามเกี่ยวกับ เพศ ( เป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ ) มีคำตอบให้เลือก ดังนี้ เพศชาย เพศหญิง ถ้าผู้ตอบคำถามเป็น เพศชาย กำหนดให้เพศชายมีค่าเป็น 1 ดังนั้น Value จะใส่ 1 Value Label จะใส่ ชาย ถ้าผู้ตอบคำถามเป็น เพศหญิง กำหนดให้เพศหญิงมีค่าเป็น 2 ดังนั้น Value จะใส่ 2 Value Label จะใส่ หญิง
9. Missing เป็นการกำหนดค่าที่ไม่สมบูรณ์ ดังนั้น ผู้วิจัยเลือก Discrete Missing Values แล้วพิมพ์ตัวเลขลง ใช้แทนความหมายบางค่าที่ไม่สมบูรณ์ เช่น 9, 99, 999 คำถามเกี่ยวกับเพศ มีคำตอบให้เลือกดังนี้ เพศชาย เพศหญิง โดยผู้วิจัยจะกำหนดค่าที่เป็นไปไม่ได้สูงสุดของตัวแปรนั้นมาเป็นรหัส คือ 9
10. Columns เป็นการกำหนดความกว้างของ Column Align เป็นการกำหนดให้ค่าของข้อมูลแสดงชิดซ้าย ขวา หรือกลาง
11. Measure การกำหนดลักษณะข้อมูลว่าเป็น Scale, Ordinal หรือ Nominal Scale คือ ข้อมูลที่ใช้วัด Ordinal คือ เลขแสดงลำดับ Nominal คือ ข้อมูลนามบัญญัติ
ขั้นที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูล
เมื่อผู้วิจัยกำหนด Variable View เรียบร้อยแล้วให้กลับมาที่ View เพื่อพิมพ์ค่าของข้อมูลต่างๆ
หมายเหตุ : บันทึกแฟ้มข้อมูลทุกครั้งด้วย®Data File Save
การวิเคราะห์ข้อมูล เมื่อผู้ทำการวิจัยจัดการกับข้อมูลเสร็จแล้ว จะวิเคราะห์ข้อมูลแต่ละด้าน ก็ให้คลิกที่แถบคำสั่ง Transform เลือก compute แล้วดำเนินการจัดการกับข้อมูลตามแบบสอบถาม แต่ละด้าน แล้วเลือก OK ก็จะได้ทราบค่าสถิติเบื้องต้น









ขั้นตอนการใช้โปรแกรม SPSS
1. เปิดโปรแกรม SPSS
2. ดูมุมซ้ายมือจะมีหน้ากระดาษ 2 หน้า หน้า 1 data view หน้า 2 variable view ดังรูปที่ 1


รูปที่1 เริ่มต้นโปรแกรม SPSS
3. ให้กดหน้า 2 variable view
4. กำหนดค่าในหน้า variable view ช่อง name พิมพ์
เพศ,a1,a2,a3,a4,b1,b2,b3,b4,c1,c2,c3,c4,d1,d2,d3 เรียงจากบนลงล่าง โดย
a แทนแบบประเมินด้านที่ 1
b แทนแบบประเมินด้านที่ 2
c แทนแบบประเมินด้านที่ 3
d แทนแบบประเมินด้านที่ 4
- ช่องwidth พิมพ์ตัวเลขความกว้างที่ต้องการ เช่น แถวเพศ มีเพศชาย กับ เพศหญิง พิมพ์ 2 ส่วนแถว a1,a2....,d3 มี 1= น้อยที่สุด 2=น้อย 3=ปานกลาง 4=มาก 5=มากที่สุด พิมพ์ 5
- ช่องdeimalsเลือกจุดทศนิยมที่ต้องการ (0,1,2)
- ช่องvalue ใส่ค่าโดยคลิกขวา แถวเพศ ในช่อง value พิมพ์ 1ชาย 2หญิง ส่วนแถว a1,a2....,d3 ในช่อง value ใส่ 1= น้อยที่สุด 2=น้อย 3=ปานกลาง 4=มาก 5=มากที่สุด
5. หลังจากนั้นกลับมากดหน้า 1 data view ข้อมูลที่พิมพ์ จากหน้า variable view เพศa1,a2,a3,a4,b1,b2,b3,b4,c1,c2,c3,c4,d1,d2,d3 จะมาปรากฎ บนหัวกระดาษโดยเรียงจากซ้ายไปขวา
6. พิมพ์ข้อมูลใส่ใน data view โดยกรอกข้อมูลเป็นรายบุคคลที่ละข้อจนครบทุกข้อ แล้วจึงกรอกข้อมูลคนที่ 2,3,4 จนครบ 20 คน โดย
- ช่อง เพศ หากผู้ประเมินเป็นเพศชาย พิมพ์ 1 เพศหญิง พิมพ์ 2
- ช่อง a1 หากผู้ประเมินตอบคำถามอยู่ในระดับปานกลาง ให้พิมพ์เลข 3
- ช่อง a2 หากผู้ประเมินตอบคำถามอยู่ในระดับมาก ให้พิมพ์เลข 4
- จนถึงช่อง d4 ตามลำดับข้อมูล ที่เก็บรวบรวมได้ทั้งหมด(20 คน)


รูปที่ 2 Data view r ใน SPSS

7. การวิเคราะห์ข้อมูล

- กดที่ transform เลือก compute variable - พิมพ์หัวข้อ taใน target variable เลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [a1,a2,a3,a4]/4 คลิก ok
- กดที่ transform เลือก compute variable - พิมพ์หัวข้อ tbใน target variable เลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [b1,b2,b3,b4]/4 คลิก ok
- กดที่ transform เลือก compute variable - พิมพ์หัวข้อ tcใน target variable เลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [c1,c2,c3,c4]/4 คลิก ok
- กดที่ transform เลือก compute variable - พิมพ์หัวข้อ tdใน target variable เลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [d1,d2,d3]/3 คลิก ok
- กดที่ analyze เลือก descriptive statistic เลือก frequencies เลือกหัวข้อเพศ,a1,a2,...d3 แล้วคลิก ok แสดงการประมวลผล


รูปที่ 3 เมนู Analyze สำหรับวิเคราะห์ผลทางสถิติ
8. ค่าร้อยละใช้กับ เพศ ตำแหน่ง เงินเดือน เป็นต้น
9. ค่าเฉลี่ย ใช้กับ ข้อคิดเห็นแต่ละข้อ

วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 1 แนะนำตนเอง


         สวัสดีค่ะดิฉัน  สุจินต์  ศรีวิสุทธิ์    รหัส  5346701084   นักศึกษาป.บัณฑิต
สาขาบริหารการศึกษา                                                        

ประวัติการศึกษา

         พ.ศ.2521 - พ.ศ.2527  ระดับประถมศึกษา  โรงเรียนชุมชนวัดทอนหงส์  อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช
         พ.ศ.2527 - พ.ศ.2533  ระดับมัธยมศึกษา  โรงเรียนพรหมคีรีพิทยาคม  อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช
         พ.ศ.2533 - พ.ศ.2537  ระดับปริญญาตรี  ครุศาสตรบัณฑิต  (คณิตศาสตร์)  วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช  อ.เมือง  จ.นครศรีธรรมราช
        พ.ศ.2544 - พ.ศ.2545  ระดับปริญญาโท  ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต  ( หลักสูตรและการสอน) มหาวิทยาลัยรามคำแหง  อ.พระพรหม  จ.นครศรีธรรมราช

ประวัติการทำงาน

        พ.ศ.2537 - พ.ศ.2538   บรรจุครั้งแรก ตำแหน่งอาจารย์ 1 โรงเรียนบ้านฝ้าย  อ.หนองหงส์  จ.บุรีรัมย์
        พ.ศ.2538 - พ.ศ.2541   ย้ายดำรงตำแหน่ง อาจารย์ 1  โรงเรียนกรุงหยันวิทยาคาร  อ.ทุ่งใหญ่  จ.นครศรีธรรมราช
        พ.ศ.2541 - พ.ศ.2547   ย้ายดำรงตำแหน่งอาจารย์ 1  โรงเรียนฉวางรัชดาภิเษก  อ.ฉวาง  จ.นครศรีธรรมราช
        พ.ศ.2547 - พ.ศ.2548   ดำรงตำแหน่งอาจารย์ 2,ครู(24ธ.ค.2547)  โรงเรียนฉวางรัชดาภิเษก  อ.ฉวาง  จ.นครศรีธรรมราช
        พ.ศ.2548 - พ.ศ.2550      ย้ายดำรงตำแหน่งครู   ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครศรีธรรมราช
        พ.ศ.2550 - ปัจจุบัน      ดำรงตำแหน่ง ครู  ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครศรีธรรมราช 

สถานที่ทำงาน

        ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครศรีธรรมราช  ม.3  ต.บ้านเกาะ  อ.พรหมคีรี  จ.นครศรีธรรมราช
            80320

ที่อยู่ปัจจุบัน

        47/14 หมู่ 2 ต.ทอนหงส์  อ.พรหมคีรี  จ.นครศรีธรรมราช  80320

ปรัชญา

         พรุ่งนี้จะต้องดีกว่าวันนี้

คติธรรม

         การให้โดยไม่หวังผลตอบแทน  เป็นความสุขที่ประเสริฐสุด